ศูนย์หัวใจล้มเหลว
พร้อมให้การดูแล โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ

ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ห่วงใย และตระหนักถึงอันตรายของภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาที่ได้ผลที่ดีที่สุดไม่ได้เกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หากแต่เกิดจากความร่วมมือกันเป็นทีม เพื่อ ลดการเสียชีวิต ลดการนอนโรงพยาบาล ลดอาการเหนื่อย ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ให้คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด

คุณ คือ ส่วนสำคัญของทีมที่จะทำให้เราเอาชนะโรคนี้ มาร่วมกันต่อสู้ เพื่อคนที่คุณรัก และ เพื่อตัวคุณเอง ให้ทีมหัวใจเรา เดินเคียงข้างไปพร้มหัวใจคุณ…

ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา Heart Failure Center

ต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อท่านมาที่ ศูนย์หัวใจล้มเหลว

  • ลงทะเบียน วัดความดัน และสัญญาณชีพ เจาะเลือดชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
  • เตรียมรองเท้าสวมสำหรับเดิน ใส่ชุดที่ใส่สบาย แขนสั้น กางเกงยืด เป็นต้น เพื่อ ทดสอบวัดระยะทางการเดินใน 6 นาที 6 Minute Walk test
  • พยาบาลประจำศูนย์หัวใจล้มเหลว สอบถามอาการดังต่อไปนี้ ประวัติความเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือ มาโรงพยาบาลก่อนนัด อาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นลงหมดสติ ใจสั่น อาการเหนื่อย ลุกนั่งช่วงกลางคืน เหื่อยหอบ เหนื่อยเพลีย อาการนอนราบไม่ได้ ขาบวมกดบุ๋ม จุกแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  • แนะนำการปรับเปลี่ยน lifestyle การทานอาหารและการออกำลังกายเบื้องต้น ตรวจทานประวัติการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ นิวโมคอคคัส เลิกบุหรี่ เลิก/ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  • แนะนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว แบบทดสอดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักาา คลิปวีดีโอสอนแสดงภาวะหัวใจล้มเหลว หนังสือคู่มือภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เภสัชประจำศูนย์หัวใจล้มเหลว
    • สอบถามตรวจสอบการทานยาถูกต้องหรือไม่
    • มีอาการหรือผลข้างเคียง จากการใช้ยาหรือไม่
    • สอบถามการใช้ยาอื่นๆ ที่อาจตีกับยาที่ทานอยู่ในปัจจุบัน
    • ให้ความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับยาที่บ้าน
    • นำยามาพบแพทย์ และ เภสัชทุกครั้ง
  • แพทย์อายุรกรรมเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเมินอาการและอาการแสดงผู้ป่วย ส่งตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ Echo ตรวจ CT-Scan หรือ CMR
  • ส่งปรึกษาทีมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และ ส่งประเมิน CPET เพื่อแนะนำการออกกำลังกาย หรือ บอกพยากรณ์โรคในผู้ป่วยบางราย
  • ให้การรักษา
  • ปรับยาหลักทีละน้อย ทุก 2-4 สัปดาห์ ให้ได้ขนาดสูงสุดตามแนวทางการรักษา หรือ เท่าที่เหมาะสมในแต่ละราย
  • ติดตามการทำงานของไต ค่าเหลือแร่เป็นระยะในช่วงปรับยา
  • เฝ้าระวัง หรือ ให้การรักษาโรคร่วมอย่างเหมาะสม ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมัน เป็นต้น
  • พบเภสัชและพยาบาลศูนย์หัวใจล้มเหลว หลังพบแพทย์ กลับมาพบพยาบาล และ เภสัชกรอีกครั้ง
    • เพื่อเน้นย้ำและให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
    • ให้คำแนะนำยาที่ปรับเพิ่ม ปรับลด หรือ หยุดทานยา
    • ให้คำแนะนำหากมีการเริ่มยาตัวใหม่
    • ให้การรักษาเพิ่มเติมตามที่แพทย์สั่ง เช่น ฉีดวัคซีน ประเมินภาวะโภชนาการ เป็นต้น
    • ส่งปรึกษาทีมฟื้นฟูสมรรภาพหัวใจ หรือ ทำนัดวันหลัง
  • กลับบ้านไปปรับเปลี่ยนการทานอาหาร ออกกำลังกาย ทานยาให้ครบ

 

แผนกอายุรกรรมหัวใจและ แผนกศัลยกรรมหัวใจ  ประกอบไปด้วยศูนย์เฉพาะทางที่คอยดูแลสุขภาพ หัวใจคุณ…

 

แพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง